"Kamishibai" DiY
ชวนมาประดิษฐ์นิทานกล่อง จากกระดาษลัง
หรือดัดแปลงใช้กรอบรูป 2 อันประกบกัน
ซึ่งพี่แอนได้แรงบันดาลใจจากการไปเยี่ยมชม
สถานดูแลและสนับสนุนสวัสดิการเด็กประจำท้องถิ่น
วันนั้นมีกิจกรรมเล่านิทาน รู้สึกประทับใจที่กล่องไม้ใบเล็ก
ช่วยสร้างเรื่องราว เติมจินตนาการให้แก่ผู้ชม ทั้งที่ฟังภาษา
ไม่เข้าใจ แต่เราก็รับรู้ถึงความสนุก เพลิดเพลิน
เมื่อผู้เล่าหรือนักแสดงเปิดกล่องไม้มีบานพับ
เหมือนกับเปิดม่านโรงละคร ก็ปรากฏภาพวาด
บนกระดาษเรียงซ้อนกันอยู่ ขณะดำเนินเรื่อง ผู้เล่า
จะดึงภาพออกเพื่อเปลี่ยนฉาก แล้วนำแผ่นที่เล่าแล้ว
สอดเก็บในกล่องที่แผ่นหลังสุด
ในกล่องนิทานมีภาพวาด เช่น ของเล่นกังหันลม ขนมเค้ก
เครื่องดื่มร้อน พี่ ๆ ร้องเพลง Happy Birthday
ทำท่าเป่า สื่อสารกับผู้ฟังตัวน้อย ทำเสียงสูงต่ำฟังดูมีชีวิตชีวา
มีจังหวะการดึงแผ่นภาพ บางภาพค่อย ๆ เลื่อน
เพื่อให้ลุ้นว่าจะมีอะไรต่อมาในภาพ
เมื่อเห็นความน่ารักของเด็ก ๆ ผู้ใหญ่อย่างเราจึงอดไม่ได้
ที่จะสนุกกับเด็กไปด้วย พวกเราต่างเพลิดเพลินกับกิจกรรม
การแสดงที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้แก่เด็ก
เช่น การนับเลข การร้องเพลง กิจกรรมเหล่านี้ยังสร้าง
ความสัมพันธ์กับคนในชุมชนอีกด้วย
ศิลปะการเล่าเรื่องด้วยภาพนี้เรียกว่า "คามิชิไบ" (Kamishibai)
แพร่หลายอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาช้านาน
และเป็นที่นิยมอย่างมากราวปี 1930
ช่วงที่มีสื่อโทรทัศน์เข้ามาทำให้คามิชิไบลดความนิยมลง
ปัจจุบันแม้ว่าสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
บางคนคิดว่าอาจไม่มีการแสดงเช่นนี้แล้ว
เมื่อเราเริ่มค้นหาเรื่องราวนี้อีกครั้ง
พบว่าการเล่าเรื่องแบบคามิชิไบไม่หายไปไหน
ในสื่อออนไลน์ ยังมีผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ
นำไปใช้ในประกอบการสอน หรือประดิษฐ์นิทานกล่อง
Handy Anny DIY หวังว่าทุกคนจะสนุกกับงานประดิษฐ์
นิทานกล่อง หรือโรงละครกระดาษ นำไปประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์ต่อไปกันนะคะ
ภาพ : Anny & Yam 2005
เนื้อร้อง/ทำนอง : ประพันธ์ สุนทรฐิติ
Handy Anny Melody
ความคิดเห็น